คงเคยเห็นป้าย “ผู้หญิงมีประจำเดือน“ มักเห็นอยู่บ่อยครั้งเวลาไปตามทางเข้าศาสนสถาน ผู้หญิงหลายคนบ่นถึงไม่เท่าเทียมและผุดคำถามว่าว่าทำไมผู้ชายเข้าได้แล้วผู้หญิงเข้าไม่ได้? วันนี้จึงอยากพาไปดูเหตุทางความเชื่อว่าทำไม ผู้หญิงระหว่างมีประจำเดือน ไม่ควรก้าวล้ำไปในวัด
ความเชื่อในสมัยก่อนั้น ของชาวพุทธในประเทศไทยเชื่อว่าประจำเดือนเป็นของสกปรกจึงทำให้เกิดข้อห้ามที่ไม่ให้ผู้หญิงมีประจำเดือนทำนั้นมีตั้งแต่ห้ามไปวัด ห้ามสวดมนต์ ห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใด ห้ามสระผม ห้ามทำอาหาร ห้ามมีเซ็กซ์ ห้ามแตะต้องภาชนะ เครื่องครัว จานชาม ห้ามกินของแสลงต่างๆ หลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงผู้หญิงระหว่างมีประจำเดือน ไม่ควรก้าวล้ำไปในวัด
จริง ๆ ผู้หญิงระหว่างมีประจำเดือน ไม่ควรก้าวล้ำไปในวัด เป็นเรื่องของความเชื่อวิธีคิดแบบฮินดูที่แทรกซึมเข้าสังคมพุทธในบ้านเรา มีหลายสถานที่ทางศาสนาที่ติดป้ายผู้หญิงห้ามเข้า วัดฮินดูในอินเดียเขียนเจาะจงกว่านั้นคือ ผู้หญิงมีประจำเดือนห้ามเข้า หรือผู้หญิงอายุ 10-50 ปีห้ามเข้า ซึ่งก็หมายถึงผู้หญิงในวัยที่มีประจำเดือนนั่นเอง
แต่แปลกที่ประจำเดือนกลับมีเหนืออำนาจในทางไสยศาสตร์ ที่สามารถทำความศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์ให้เสื่อมลงได้แสดงว่าเพศหญิงคือเพศอยู่เหนือความศกดิ์สิทธิ์การอ้างเหตุเรื่องประจำเดือนทำลายความศักดิ์สิทธิ์ทำให้วัดหลายแห่งทางภาคเหนือภาคอีสานบางส่วนห้ามผู้หญิงเข้า ตามความเชื่อว่ากันว่า พระธาตุเจดีย์ในสมัยโบราณฝังตัวพระธาตุไว้ใต้ดิน การเข้าไปของผู้หญิงจะทำให้พระธาตุเหล่านั้นเลื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลง
ความเขื่อเกี่ยวกับผู้หญิงมีประจำเดือนอื่นๆ
- นอกจากนี้ความเชื่อของชาวล้านนายังห้ามผู้หญิงเข้าไปในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
- ห้ามเก็บพืชผักในระหว่างที่มีประจำเดือน เพราะเชื่อว่าทำให้ผักแห้ง เฉาตายลง ถ้าเป็นเมนส์ ห้ามไปเฉียดกรายที่ดงสะระหน่ และผักที่เอาไว้กินกับลาบเด็ดขาด คนแก่เขาว่าจะทำให้ต้นไม้พวกนั้นตาย พินาศ ย่อยยับกันเลยทีเดียว
- ในเกือบทุกศาสนาในโลกนี้ห้ามผู้หญิงมีประจำเดือนเข้าวัด สวดมนต์ ทำกิจกรรมทางศาสนา บางทีห้ามทำอาหารด้วย
- ห้ามผู้หญิงมีประจำเดือนทำอาหาร เพราะจะทำให้เบคอนเน่า ห้ามทำเนย ห้ามทำขนมปัง ห้ามเข้าไปสวดมนต์ในโบสถ์
- ส่วนฮินดูนั้น ห้ามเข้าครัว ห้ามเข้าวัด ให้อยู่แต่ในห้องที่แยกออกไปต่างหาก ไม่เอาเสื้อผ้ามารวมกับคนอื่น ใช้จานชามแยกไม่ปะปน
การห้ามเข้าอุโบสถและห้ามไหว้พระธาตุ น่าจะมาจากความกังวลเรื่องประจำเดือนของผู้หญิง โดยเชื่อว่าเป็นช่วงที่ผู้หญิงอยู่ในสภาวะ “ไม่ปกติ” น่าสนใจตรงที่ แม้แต่ในอินเดียจะเขียนชัดเจนว่า “ห้ามผู้หญิงที่มีประจำเดือนเข้า” แต่ในไทยหรือในล้านนา กลับห้ามผู้หญิงทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ซึ่งก็เข้าใจได้อีกว่า ไม่รู้จะพิสูจน์อย่างไร เกิดผู้หญิงคนนั้นมีประจำเดือนแต่โกหกว่าไม่มีขึ้นมาล่ะ! ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่ใช่ไหม?
จริงๆ ก็อาจเป็นกุศโลบายของคนโบราณที่ว่า ผู้หญิงระหว่างมีประจำเดือน ไม่ควรก้าวล้ำไปในวัด เพราะเกรงว่าจะทำให้สถานที่เลอะเทอะ ไม่เหมาะสมกับศาสนาศักดิ์สิทธิ์แต่ความจริงแล้วเวลาผู้หญิงมีประจำเดือน ร่างกายจะอ่อนแอ ดังนั้นจึงควรพักผ่อน ไม่ควรออกมาทำงานหรือทำกิจกรรมใดๆ แต่บอกแค่นี้ก็ไม่มีผู้หญิงคนไหนเชื่อ จึงต้องทำเป็นอุบาย ขืนออกมาทำกับข้าวมันจะไม่ดี มันทำให้เกิดความเสื่อมถอยนานา แค่อยากให้พักผ่อน ไม่ต้องไปวัด ไม่ต้องสวดมนต์ ไม่ต้องทำอาหาร ไม่ต้องทำงาน ซึ่งปัจจุบันฉันไม่แน่ใจว่าหากเราเสนอให้ผู้หญิงสามารถหยุดงานได้หากมีประจำเดือน ผู้หญิงจะแฮปปี้ไหม คล้ายๆ กับให้ลาคลอด เพราะเราเห็นว่าผู้หญิงควรจะพักผ่อนในเวลานั้น
บทสรุป
ทั้งหมดล้วนเป็นความเชื่อที่บางส่วนอาจวางอยู่บนข้อเท็จจริง แม้บางเรื่องในสังคมของพวกเราอาจมองว่าเป็นเรื่องความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล แต่ในการท่องเที่ยวนั้น พวกเราควรให้การเคารพให้กฎในสังคมที่เราไปเที่ยวด้วย ควรศึกษาข้อห้ามและรู้ถึงที่มาของความเชื่อนั้นว่าเป็นมาอย่างไรก็ตามก็ขอให้ทุกคนติตตามด้วยการใช้สติวิจารณาญาณ เสมอเพราะทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องที่อาจไม่สามารถพิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาตร์เสียทั้งหมดทีเดียว แต่ก็สามารถนำมาประดับความรู้ได้อยู่เสมอ ไม่อย่างนั้นเดียวจะคุยกับใครไม่รู้เรืองนะ